En Europe
- La Belgique
- La suisse
- La France
En Africgue
- Le Sénégal
- La Tunisie
- La Togo
En Amérique
- Québec au canada
วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
Les pays voisins
Les pays voisins de la France
- La Suisse
- La Belgique
- Le Luxembourg
- L' Angleterre
- L' Espagne
- L' Allemagne
- L' Italie
- La Suisse
- La Belgique
- Le Luxembourg
- L' Angleterre
- L' Espagne
- L' Allemagne
- L' Italie
วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
Centre Pompidou
Centre Pompidou และ Cite de la Villette ในประเทศฝรั่งเศส เป็นสถานที่ที่ทำให้คณะเจ้าหน้าที่ของไทยได้แนวความคิดสำหรับศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติที่จะจัดตั้งขึ้นในประเทศไทย
กรุงปารีสมีชื่อเสียงในด้านการเป็นศูนย์กลางแฟชั่น และน้ำหอมของโลก แต่กรุงปารีส ก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่านี้ โดยเฉพาะกับคณะเจ้าหน้าหน้าที่ของไทยที่เพิ่งเดินทางไปที่กรุงปารีส เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่วางแผนในเรื่องการสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงอายุ อาชีพ หรือรายได้ ได้เข้าถึงศิลปะ วัฒนธรรม และความรู้แนวความคิดเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นผลจากการที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยได้ไปเยี่ยมชม Centre Pompidou ซึ่งเป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่รวบรวมศิลปะที่ทันสมัย และร่วมสมัย มีห้องสมุดประชาชนที่มีขนาดกว้างขวาง โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ สถาบันสำหรับการค้นคว้าด้านดนตรี และบริเวณที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมด้านการศึกษา ศูนย์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐแห่งนี้ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในหลาย ๆ แห่งที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยได้เยี่ยมชม นับเป็นสถานที่ที่ นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งยังคงรับผิดชอบงานด้านศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้ใช้เวลาเยี่ยมชมอยู่นานที่สุด นางสิริกร มณีรินทร์ ได้กล่าวว่า “ศูนย์ดังกล่าว ไม่เหมือนกับห้องสมุดแห่งอื่น เพราะมันเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต และสะดวกสบายจากการมีเพดานที่สูง ฉันสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่แห่งนี้ ขณะเดียวกันก็ได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของ กรุงปารีสโดยผ่านผนังที่เป็นกระจกใส”ศูนย์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากมันสมองของอดีตประธานาธิบดี Georges Pompidou ผู้ซึ่งต้องการสร้างสถาบันด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบสมบูรณ์แบบขึ้นที่ใจกลางของกรุงปารีส ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์แบบทันสมัย และร่วมสมัย สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ ดนตรี หนังสือ และบทพูดต่าง ๆ ตั้งอยู่ห่างจากโบสถ์ Notre Dame และพิพิธภัณฑ์ Louvre ราว 1 กิโลเมตร และได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2520 ต่อมาได้กลายเป็นอาคารในฝรั่งเศสที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนสูงมากแห่งหนึ่ง คือ ประมาณ 6 ล้านคน/ปี ซึ่งต้องต่อคิวยาวมากในการที่จะได้เข้าไปชมแอมมานูเอล มาติเนซ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ กล่าวว่า “ทุก ๆ วันจะมีคนเข้าชมเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ห้องสมุดดึงดูดนักเรียน และพิพิธภัณฑ์ดึงดูดประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในขณะนี้ก็มีการแสดงนิทรรศการภาพเขียนของ Joan Miro ซึ่งใช้เวลาในการเตรียมงานถึง 3 ปี”นอกจากนิทรรศการดังกล่าวแล้ว ตรงทางเข้าชมยังมีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะมากกว่า 50,000 ชิ้น ที่บริเวณชั้น 4 และ ชั้น 5 ทำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นที่รวบรวมศิลปะสมัยใหม่ และร่วมสมัยระดับโลกบริเวณชั้น 2 และ ชั้น 3 เป็นส่วนสำหรับผู้ค้นหาข้อมูล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จำนวน 250 เครื่อง และมีที่นั่งจำนวน 2,400 ที่ ห้องสมุดที่มีหนังสือประมาณ 400,000 เล่ม ต้อนรับผู้เข้าชมประมาณ 8,000 – 10,000 คน/วัน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวก็สามารถเดินซื้อของที่ร้านศิลปะบริเวณชั้น 1 พักผ่อนที่โรงภาพยนตร์ ชั้นใต้ดิน หรือรับประทานอาหารในภัตตาคารเลิศหรูที่ชั้นบนสุด ซึ่งสามารถมองเห็นเมืองปารีสโดยรอบได้ถ้า Centre Pompidou แสดงให้เห็นได้ว่า พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และโรงภาพยนตร์มาอยู่รวมกันได้อย่างไร Cite de la Villette ก็เป็นสถานที่จัดแสดงงานด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนออกนอกตัวเมืองปารีสขับรถไปราว 1 ชั่วโมง จะเห็น Cite de la Villette ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ 550,000 ตารางเมตร โดยในบริเวณด้านในจะเป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบสมัยใหม่ ซึ่งเด็ก ๆ สามารถทดลอง และผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้เทคนิคซับซ้อนที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้ มีการจัดกิจกรรมหลายอย่างในแต่ละห้อง ซึ่งเด็กจะต้องต่อคิวเพื่อซื้อตั๋วเข้าไปชมเรื่องที่ตนมีความสนใจ เช่น การกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และการทำกังหันลมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของห้องสมุดที่มีหนังสือถึง 500,000 เล่ม จึงทำให้ที่นี่เป็นหนึ่งในศูนย์ค้นคว้าระดับโลก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวประมาณ 1,000 คน/วัน อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับ Cite de la Villette คือ Cite de la Musique โดยมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ซึ่งมีประติมากรรมหลายชิ้นตั้งอยู่ และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน เมืองดนตรี เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถจุคนได้ถึง 1,000 คน มีห้องเรียนดนตรี พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี ห้องสมุด และห้องฝึกซ้อมดนตรีฟิลิป โปรวองซอล เจ้าหน้าที่ของเมืองดนตรีได้กล่าวว่า “เด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบ สามารถเข้าชมสถานที่แห่งนี้ได้ แต่เป้าหมายหลัก คือ การให้เยาวชนอายุประมาณ 14 ปี ได้เข้าชม ซึ่งพวกเขาจะได้เรียนรู้เรื่องดนตรี และการบันทึกเสียงในห้องอัด”เด็กได้รับการอนุญาตให้เดินสำรวจได้อย่างอิสระ และมีดนตรีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เพลงป๊อบ ร๊อค ละติน หรือศิลปะอื่น ๆ วันที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยเดินทางไปนั้น มีเด็กอายุระหว่าง 7 – 12 ปี กำลังชมวิดีโอเพลงของนักร้องดัง ไมเคิล แจ๊คสัน สำหรับจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ เครื่องดนตรีทั้งแบบเก่าและใหม่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถฟังเสียงดนตรีและประวัติเครื่องดนตรี ขณะที่เดินผ่านเครื่องดนตรีต่าง ๆ จากหูฟังที่จัดไว้ให้นางสิริกร มณีรินทร์ ได้กล่าวว่า แนวความคิดของสถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ สามารถนำมาใช้กับศูนย์การเรียนรู้ในประเทศไทย ซึ่งจะก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่ 21 ไร่ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมเรื่องดนตรี ศิลปะ ละคร ห้องสมุด และวัฒนธรรมไทย เข้าไว้ด้วยกัน“แนวคิดคือ เราต้องการทำให้ห้องสมุดเป็นศูนย์ความรู้ที่มีชีวิตสำหรับทุกคน เป็นที่ที่ ทำให้คนได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในขณะที่เพลิดเพลินไปกับสิ่งต่าง ๆ ในห้องสมุด ดังเช่นที่ฉันเองก็เพลินเพลินกับ Centre Pompidou แห่งนี้” “นอกจากนี้ ในศูนย์จะมีห้องสมุดสำหรับคนตาบอด และลิฟท์สำหรับคนพิการ และอาสาสมัครอ่านหนังสือด้วย เหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องการจะเห็นในศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติในประเทศไทย”
กรุงปารีสมีชื่อเสียงในด้านการเป็นศูนย์กลางแฟชั่น และน้ำหอมของโลก แต่กรุงปารีส ก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่านี้ โดยเฉพาะกับคณะเจ้าหน้าหน้าที่ของไทยที่เพิ่งเดินทางไปที่กรุงปารีส เมื่อไม่นานมานี้ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่วางแผนในเรื่องการสร้างศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ เพื่อให้ประชาชนทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงอายุ อาชีพ หรือรายได้ ได้เข้าถึงศิลปะ วัฒนธรรม และความรู้แนวความคิดเกี่ยวกับศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติเป็นผลจากการที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยได้ไปเยี่ยมชม Centre Pompidou ซึ่งเป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่รวบรวมศิลปะที่ทันสมัย และร่วมสมัย มีห้องสมุดประชาชนที่มีขนาดกว้างขวาง โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ สถาบันสำหรับการค้นคว้าด้านดนตรี และบริเวณที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมด้านการศึกษา ศูนย์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐแห่งนี้ เป็นสถานที่แห่งหนึ่งในหลาย ๆ แห่งที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยได้เยี่ยมชม นับเป็นสถานที่ที่ นางสิริกร มณีรินทร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งยังคงรับผิดชอบงานด้านศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ ได้ใช้เวลาเยี่ยมชมอยู่นานที่สุด นางสิริกร มณีรินทร์ ได้กล่าวว่า “ศูนย์ดังกล่าว ไม่เหมือนกับห้องสมุดแห่งอื่น เพราะมันเป็นห้องสมุดที่มีชีวิต และสะดวกสบายจากการมีเพดานที่สูง ฉันสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จากที่แห่งนี้ ขณะเดียวกันก็ได้ชมทัศนียภาพที่สวยงามของ กรุงปารีสโดยผ่านผนังที่เป็นกระจกใส”ศูนย์ดังกล่าว เกิดขึ้นจากมันสมองของอดีตประธานาธิบดี Georges Pompidou ผู้ซึ่งต้องการสร้างสถาบันด้านวัฒนธรรมดั้งเดิมแบบสมบูรณ์แบบขึ้นที่ใจกลางของกรุงปารีส ซึ่งเน้นการสร้างสรรค์แบบทันสมัย และร่วมสมัย สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ ดนตรี หนังสือ และบทพูดต่าง ๆ ตั้งอยู่ห่างจากโบสถ์ Notre Dame และพิพิธภัณฑ์ Louvre ราว 1 กิโลเมตร และได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2520 ต่อมาได้กลายเป็นอาคารในฝรั่งเศสที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนสูงมากแห่งหนึ่ง คือ ประมาณ 6 ล้านคน/ปี ซึ่งต้องต่อคิวยาวมากในการที่จะได้เข้าไปชมแอมมานูเอล มาติเนซ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ กล่าวว่า “ทุก ๆ วันจะมีคนเข้าชมเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ห้องสมุดดึงดูดนักเรียน และพิพิธภัณฑ์ดึงดูดประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะในขณะนี้ก็มีการแสดงนิทรรศการภาพเขียนของ Joan Miro ซึ่งใช้เวลาในการเตรียมงานถึง 3 ปี”นอกจากนิทรรศการดังกล่าวแล้ว ตรงทางเข้าชมยังมีการจัดแสดงผลงานทางศิลปะมากกว่า 50,000 ชิ้น ที่บริเวณชั้น 4 และ ชั้น 5 ทำให้ศูนย์แห่งนี้เป็นที่รวบรวมศิลปะสมัยใหม่ และร่วมสมัยระดับโลกบริเวณชั้น 2 และ ชั้น 3 เป็นส่วนสำหรับผู้ค้นหาข้อมูล โดยรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต จำนวน 250 เครื่อง และมีที่นั่งจำนวน 2,400 ที่ ห้องสมุดที่มีหนังสือประมาณ 400,000 เล่ม ต้อนรับผู้เข้าชมประมาณ 8,000 – 10,000 คน/วัน นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวก็สามารถเดินซื้อของที่ร้านศิลปะบริเวณชั้น 1 พักผ่อนที่โรงภาพยนตร์ ชั้นใต้ดิน หรือรับประทานอาหารในภัตตาคารเลิศหรูที่ชั้นบนสุด ซึ่งสามารถมองเห็นเมืองปารีสโดยรอบได้ถ้า Centre Pompidou แสดงให้เห็นได้ว่า พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุด และโรงภาพยนตร์มาอยู่รวมกันได้อย่างไร Cite de la Villette ก็เป็นสถานที่จัดแสดงงานด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนออกนอกตัวเมืองปารีสขับรถไปราว 1 ชั่วโมง จะเห็น Cite de la Villette ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่ 550,000 ตารางเมตร โดยในบริเวณด้านในจะเป็นอาคาร 3 ชั้น เป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แบบสมัยใหม่ ซึ่งเด็ก ๆ สามารถทดลอง และผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้เทคนิคซับซ้อนที่ใช้ในอุตสาหกรรมได้ มีการจัดกิจกรรมหลายอย่างในแต่ละห้อง ซึ่งเด็กจะต้องต่อคิวเพื่อซื้อตั๋วเข้าไปชมเรื่องที่ตนมีความสนใจ เช่น การกำเนิดพลังงานไฟฟ้า และการทำกังหันลมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของห้องสมุดที่มีหนังสือถึง 500,000 เล่ม จึงทำให้ที่นี่เป็นหนึ่งในศูนย์ค้นคว้าระดับโลก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวประมาณ 1,000 คน/วัน อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับ Cite de la Villette คือ Cite de la Musique โดยมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ซึ่งมีประติมากรรมหลายชิ้นตั้งอยู่ และเป็นที่พักผ่อนของประชาชน เมืองดนตรี เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถจุคนได้ถึง 1,000 คน มีห้องเรียนดนตรี พิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี ห้องสมุด และห้องฝึกซ้อมดนตรีฟิลิป โปรวองซอล เจ้าหน้าที่ของเมืองดนตรีได้กล่าวว่า “เด็กที่มีอายุมากกว่า 3 ขวบ สามารถเข้าชมสถานที่แห่งนี้ได้ แต่เป้าหมายหลัก คือ การให้เยาวชนอายุประมาณ 14 ปี ได้เข้าชม ซึ่งพวกเขาจะได้เรียนรู้เรื่องดนตรี และการบันทึกเสียงในห้องอัด”เด็กได้รับการอนุญาตให้เดินสำรวจได้อย่างอิสระ และมีดนตรีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น เพลงป๊อบ ร๊อค ละติน หรือศิลปะอื่น ๆ วันที่คณะเจ้าหน้าที่ของไทยเดินทางไปนั้น มีเด็กอายุระหว่าง 7 – 12 ปี กำลังชมวิดีโอเพลงของนักร้องดัง ไมเคิล แจ๊คสัน สำหรับจุดเด่นของพิพิธภัณฑ์นี้ คือ เครื่องดนตรีทั้งแบบเก่าและใหม่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถฟังเสียงดนตรีและประวัติเครื่องดนตรี ขณะที่เดินผ่านเครื่องดนตรีต่าง ๆ จากหูฟังที่จัดไว้ให้นางสิริกร มณีรินทร์ ได้กล่าวว่า แนวความคิดของสถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ สามารถนำมาใช้กับศูนย์การเรียนรู้ในประเทศไทย ซึ่งจะก่อตั้งขึ้นบนพื้นที่ 21 ไร่ของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมเรื่องดนตรี ศิลปะ ละคร ห้องสมุด และวัฒนธรรมไทย เข้าไว้ด้วยกัน“แนวคิดคือ เราต้องการทำให้ห้องสมุดเป็นศูนย์ความรู้ที่มีชีวิตสำหรับทุกคน เป็นที่ที่ ทำให้คนได้รับความรู้ใหม่ ๆ ในขณะที่เพลิดเพลินไปกับสิ่งต่าง ๆ ในห้องสมุด ดังเช่นที่ฉันเองก็เพลินเพลินกับ Centre Pompidou แห่งนี้” “นอกจากนี้ ในศูนย์จะมีห้องสมุดสำหรับคนตาบอด และลิฟท์สำหรับคนพิการ และอาสาสมัครอ่านหนังสือด้วย เหล่านี้คือสิ่งที่เราต้องการจะเห็นในศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติในประเทศไทย”
Le Centre George Pompídou
Le Centre national d’art et de culture Georges-Pompidou, plus communément appelé Centre Georges-Pompidou, Centre Pompidou ou Centre Beaubourg, est un établissement poly-culturel situé dans le quartier Beaubourg, dans le 4e arrondissement de Paris, entre le quartier des Halles et le Marais.Le Centre, qui accueille le public depuis 1977, est né de la volonté du Président de la République Georges Pompidou de créer au cœur de Paris une institution culturelle originale entièrement vouée à la création moderne et contemporaine où les arts plastiques voisineraient avec les livres, le design, la musique, le cinéma.En 2006, le Centre Pompidou accueillait 6,6 millions de visiteurs par an [1], ce qui en fait la troisième institution la plus visitée en France après le musée du Louvre et la tour Eiffel. Il conserve l'une des deux plus importantes collections d'art moderne et contemporain au monde avec celle du Museum of Modern Art de New York, abrite d'importantes galeries d'expositions temporaires, des salles de spectacles et de cinéma, et la première bibliothèque de lecture publique en Europe.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)